5 จุดสำคัญห้ามพลาดในการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่แข็งแกร่ง
การดูแลแบรนด์ของธุรกิจคุณในโซเชียลมีเดียต่างๆ อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยุ่งยาก ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มลงลึกถึงรายละเอียดทั้งหลายแล้ว มาดูกันดีกว่าว่ากลยุทธ์สร้างแบรนด์คืออะไรกัน
กลยุทธ์สร้างแบรนด์ หรือ Brand Strategy คือกลยุทธ์ที่มีเป้าหมายในระยะยาวสำหรับแบรนด์ต่างๆ โดยแน่นอนว่าเป้าหมายต่างๆ ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์ แต่ไม่ว่าจะเป้าหมายไหน การมีกลยุทธ์สร้างแบรนด์ที่ดีจะช่วยสร้างผลกระทบด้านบวกอย่างมากต่อแบรนด์
ถ้าอยากเริ่มทำกลยุทธ์ของแบรนด์เองแล้ว นี่คือ 5 จุดสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีแบรนด์ดิ้งที่ชัดเจนกว่าเดิม
1. จุดประสงค์และเป้าหมาย
เพราะในปัจจุบันนี้ ธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ ต้องชัดเจนให้มากกว่าเดิมเรื่องจุดประสงค์และเป้าหมายในการทำธุรกิจ เพื่อช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและสื่อสารไปได้อย่างชัดเจน โดยการตั้งเป้าหมายควรมีทั้งเป้าหมายภาคปฎิบัติและเชิงลึก โดยภาคปฎิบัติคือเป้าหมายที่สามารถจับต้องได้อย่างชัดเจนและมักเกี่ยวกับเรื่องของรายได้หรือความสำเร็จเป็นหลัก และสำหรับเชิงลึกแล้วควรเป็นเป้าหมายที่นอกเหนือจากเรื่องเงินแทน เช่นมีความต้องการให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนดียิ่งขึ้นหรือเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน แต่ถ้ายังไม่มั่นใจว่าธุรกิจของคุณควรมีเป้าหมายเชิงลึกแบบไหน ก็สามารถย้อนกลับไปดูที่ตัวผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมายก่อน เพื่อช่วยให้ได้แรงบันดาลใจดีๆ ในการต่อยอดเป้าหมายต่อได้
2. ต่อเนื่องในทุกการกระทำ
เพราะว่าสำหรับทุกคนแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคของคุณ ไม่ว่าใครก็ล้วนชื่นชอบธุรกิจหรือแบรนด์ที่มีความคงเส้นคงวาและต่อเนื่องอยู่เสมอ คุณจึงควรให้ความสำคัญในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในโลกออกไลน์และโลกจริงๆ ให้มีความต่อเนื่องและลื่นไหล
เพราะถ้าหากการสื่อสารของคุณมีความต่อเนื่องมากพอแล้วผู้คนจะเริ่มจดจำแบรนด์และธุรกิจของคุณได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าหากยังกังวลว่าการสื่อสารไม่ต่อเนื่องแล้ว การสร้างหนังสือคู่มือสำหรับธุรกิจของคุณเองยังช่วยให้ธุรกิจคุณสามารถสื่อสารออกมาได้ชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย ทำให้ไม่ว่าจะใครก็ตามในธุรกิจคุณก็สามารถทำตามคู่มือการสื่อสารกับลูกค้าได้ชัดเจน
3. เพราะอารมณ์และความภักดีคือเรื่องสำคัญ
คุณอาจเคยเจอประสบการณ์ที่ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่แพงกว่าแม้จะมีคุณสมบัติไม่ต่างกัน ซึ่งมองเผินๆ อาจดูไม่สมเหตุสมผลนัก แต่สำหรับลูกค้าแล้วแบรนด์ต่างๆ มีมากกว่าเรื่องของสินค้า
นั่นเพราะว่าอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์เองก็สำคัญไม่แพ้กัน การทำกลยุทธ์สร้างแบรนด์จึงไม่ควรมองข้ามการสร้างความรู้สึกและอารมณ์ร่วมที่ดีต่อกลุ่มเป้าหมายเช่นกัน เพราะถ้าหากสร้างสามารถสร้างสัมพันธ์ในระดับลึกซึ้งได้แล้ว นอกจากคุณจะได้กลุ่มเป้าหมายที่ซื่อสัตย์ต่อขึ้นในระยะยาวแล้ว ยังได้พรีเซนเตอร์แบรนด์แบบฟรีๆ อีกด้วย
4. รักษาความยืดหยุ่นสำหรับการเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าคุณจะมีแคมเปญการตลาดที่ชัดเจนแค่ไหน แต่ก็ไม่มีแคมเปญไหนได้ผลตลอดไป การปรับตัวให้ยืดหยุ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญกับการสร้างแบรนด์ไม่แพ้กัน แต่ก็อย่าลืมว่าการแสดงออกต่างๆ ยังต้องมีความต่อเนื่องและชัดเจนอยู่เหมือนเดิม
5. รู้จักคู่แข่ง
นอกจากที่จะต้องคอยติดตามกลุ่มเป้าหมายและดูแลภาพลักษณ์แบรนด์ทั้งหมดบนโซเชียลมีเดียแล้ว การรู้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันในตลาดแข่งขันของคุณเป็นอย่างไรถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะคุณเองยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการศึกษาตัวอย่างกลยุทธ์ที่ประสบผลสำเร็จของคู่แข่ง และที่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
สรุป
ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นสื่อสารและสร้างสรรค์คอนเทนต์ต่างๆ บนโซเชียลมีเดียแล้ว การวางกลยุทธ์สร้างแบรนด์ที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนและตรงประเด็นได้ นำไปสู่ผลด้านบวกที่ตามออกมาในภายหลัง
Sorry, the comment form is closed at this time.