AR Filter คืออะไร และเสริมการรับรู้ของแบรนด์คุณได้อย่างไร ?
แน่นอนว่าถ้าใครใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Instagram แล้วล่ะก็ ก็คงไม่พลาดได้เห็นเทรนด์การใช้งาน AR Filter ที่ไม่ว่าจะส่องสตอรี่หรือโพสต์ไหนของเพื่อนและคนรู้จัก ก็ต้องเห็นการใช้งานอยู่เนืองๆ เพราะไอ้เจ้าลูกเล่นแบบนี้สามารถสร้างความสนุกสนานและสร้างสรรค์ไอเดียต่างๆ ได้อย่างบรรเจิด
แต่จริงๆ แล้ว AR Filter มันคืออะไรกันแน่ ? ใช้งานอย่างไรและสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างไร ? ใบบทความนี้เราจะพาไปเจาะลึกข้อมูลของ AR Filter แบบตรงๆ รวมถึงวิธีการนำมาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของแบรนด์เพื่อสร้างแรงรับรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในแบบสนุกๆ กัน
AR Filter คือฟิลเตอร์รูปแบบนึงที่ทำให้คุณสามารถนำรูปภาพและวิดีโอของคุณเองไปใส่เอฟเฟคต์ต่าง ๆ ราวกับว่าเอฟเฟคต์นั้นๆ มีอยู่ขึ้นจริงในรูปและวิดีโอ ซึ่งถ้ายังนึกภาพไม่ออกดีล่ะก็ ลองจินตนาการว่าคุณสามารถ่ายวิดีโอเซลฟี่ตัวเองและสามารถใส่หนวดเคราปลอมๆ ไปได้ หรือมีมังกรบินรอบหมู่บ้านในวิดีโอของคุณ โดยเทรนด์การใช้งาน AR Filter นั้นถึงแม้ว่าหลายๆ คนอาจจะรู้จักสิ่งนี้จาก Instagram เป็นหลัก แต่ทราบไหมว่าจริงๆ แล้ว SnapChat แพล็ตฟอร์มโซเชียลชื่อดังในหมู่วัยรุ่นจากสหรัฐอเมริกานั้นเป็นผู้ริเริ่มอย่างจริงจัง เพราะในปี 2017 SnapChat ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่อย่าง World Lense ซึ่งก็คือชื่อของ AR Filter นั่นเอง โดยฟีเจอร์ World Lense นั้นก็เรียกได้ว่าโด่งดังและมีความนิยมเป็นอย่างมาก จนทำให้ Instagram เองเห็นศักยภาพของฟีเจอร์นี้ จึงนำมาใช้ในแพล็ตฟอร์มตัวเองบ้างในชื่อของ Spark AR ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน Instagram สามารถสร้างสรรค์ AR Filter ของตัวเองเพื่อใช้ในหมู่เพื่อนฝูงและผู้ติดตาม
ทำไมการใช้ AR Filter ถึงมีผลดีต่อแบรนด์และธุรกิจของคุณ ?
ถึงแม้ว่าในช่วงเริ่มแรก Instagram จะอนุญาตให้แค่กลุ่มผู้ใช้งานปกติเท่านั้นที่สามารถสร้างสรรค์ AR Filter ผ่านฟีเจอร์ Spark AR แต่ในปี 2019 เมื่อราวๆ เดือนสิงหาคม ทาง Facebook และ Instagram ก็ได้เริ่มอนุญาติให้แบรนด์และธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างสรรค์ AR Filter ของตัวเองได้เช่นกัน ซึ่งเท่ากับว่าตอนนี้ AR Filter ได้เป็นอีกเครื่องมือชิ้นมหัศจรรย์ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และต้องเรียกได้ว่า AR Filter เองก็มีความเฉพาะตัวจากการสื่อสารช่องทางอื่นยากมาก จนเป็นเรื่องที่พลาดไม่ได้ในการนำมาใช้ ด้วยเหตุผลหลากหลายประการ
เพราะว่าในแต่ละวันนั้น มีผู้ใช้งาน Instagram มากกว่า 500 ล้านคนที่ใช้งานฟีเจอร์ Stories อยู่เป็นประจำ ฉะนั้นการสร้างสรรค์ AR Filter ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจนทำให้มีคนใช้งานนับแสนๆ ล้านๆ คน จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ไม่ว่าแบรนด์ไหนๆ ก็ห้ามพลาด นอกจากนี้การสร้างสรรค์ AR Filter ก็ไม่ได้ใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับกลยุทธ์การสื่อสารอื่นๆ และที่สำคัญ การใช้ AR Filter ยังสามารถสร้าง User Experience ได้อย่างดี ไม่ว่าจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสนุก มีความสุข
โดยตัวอย่างการใช้งานที่น่าสนใจนั้น สามารถดูได้จากกรณีศึกษาของ Taco Bell America ที่เป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสไตล์เม็กซิกัน โดยทางร้านเองได้สร้างสรรค์ AR Filter ที่ทำให้ใบหน้าผู้ใช้งานกลายเป็นอาหาร Taco และภายในเพียงแค่วันเดียวที่ AR Filter นี้ออกมา ก็มีผู้คนมากกว่า 100 ล้านคนที่ใช้ AR Filter ตัวนี้หรือได้เห็น
เรียกได้ว่า AR Filter เป็นอีกช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชมเพื่อสร้างและกระตุ้นแรงรับรู้ได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ที่สนใจได้ง่าย รวมทั้งรักษาความสัมมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
เริ่มทำ AR Filter เริ่มยังไงดี ?
แน่นอนว่าถึงตอนนี้คุณก็คงเริ่มสนใจที่จะทำ AR Filter เป็นของตัวเองแล้ว แต่ก่อนที่จะลงมือภาคปฎิบัตินั้น ควรนึกในใจให้แน่วแน่ก่อนเสียว่าการสร้างสรรค์ AR Filter ที่ดีควรที่จะมีความน่าสนใจในตัว รวมถึงอย่างดึงดูดต่อกลุ่มเป้าหมายของคุณ และอย่าลืมดูด้วยว่า AR Filter ตัวนี้นั้นสามารถเข้ากับองค์ประกอยของแบรนด์คุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวทางของการสื่อสาร จนไปถึง Brand Idenity หรือไม่เช่นกัน
คุณสามารถเริ่มสร้างสรรค์ AR FIlter ได้ง่ายๆ ด้วยการวางเป้าหมายของการทำ AR Filter ในครั้งนี้ก่อนว่าต้องการอะไร ใครจะเป็นกลุ่มเป้าหมาย มีเรื่องราวหรือปูมหลังไหม และแน่นอนว่า AR Filter สามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบ จึงไม่ควรจำกัดความเป็นไปได้ในการทำงาน ถ้าคิดว่ามีไอเดียเจ๋งๆ ก็ลองเอามาพัฒนาเป็นชิ้นงานจริงต่อได้เลย
Sorry, the comment form is closed at this time.